จากหนังสือกองประกอบหน้า24
ไม้ต้นเล็กๆ ราก รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก
ต้น รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้เสมหะในทรวงอก
ลูก(ดอก)รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้เสมหะในลำคอ
ใบ รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ทำให้เสมหะแห้งและงวดเข้า
ช้าพลู เป็นตัวยาประจำ ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ 12)
ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “อุธา” บริโภคซึ่งรากช้าพลู เชื่อว่า อาจระงับซึ่งเมื่อยขบได้
ช้าพลู อยู่ในพิกัด ตรีสาร คือจำนวนตัวยาให้คุณในฤดูหนาว3อย่าง (หน้า 157) คือ
1. รากเจตมูลเพลิง(ปิตะ) 2.เถาสะค้าน(วาตะ) 3. รากช้าพลู(เสมหะ)
สรรพคุณ แก้เสมหะ ปิตะ วาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน
ช้าพลู อยู่ในพิกัด ตรีเสมหะผล คือจำนวนตัวยาที่มีคุณแก้เสมหะสามอย่าง(หน้า160) คือ
1. ลูกช้าพลู 2. รากดีปลี 3. รากมะกล่ำเครือ
สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้สะอึก แก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต แก้ลม
ช้าพลูอยู่ในพิกัด เบญจกูล คือจำกัดจำนวนตระกูลยา(เครื่องยา)ที่มีรสร้อน 5 อย่างคือ
1. ดอกดีปลี 2.รากช้าพลู 3. เถาสะค้าน 4. รากเจตมูลเพลิง 5. เหง้าขิงแห้ง
สรรพคุณ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์


ลูกช้าพลู