ขิง

หนังสือกองประกอบฯหน้า 76

ขิงแคลง(ขิงป่า)

ไม้ลงหัวหรือลงแง่ง แต่เล็กกว่าขิง บ้าน

เหง้า รสหวานเผ็ดร้อนขม สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ลมพรรดึก แก้ลมพานไส้ แก้แน่น แก้เสียดแทง แก้นอนไม่หลับ แก้คลื่นเหียน อาเจียน

ขิงบ้าน ไม้ลงหัว จำพวกเป็นแง่ง หรือเหง้า

เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด เจริญอากาศธาตุ

ต้น รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับลมให้ผายเรอ

ใบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ บำรุงกำเดา

ดอก รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาท ซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว

ราก รสหวานเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับเสมหะในลำคอ เจริญอาหาร

ขิงสด

เหง้าขิงแห้ง

เหง้าขิง

เป็นตัวยา ประจำทวารของร่างกาย(อากาศธาตุ)

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ ”มหิทธิธรรม” บริโภคซึ่งเหง้าขิง เชื่อว่า อาจระงับตรีโทษได้

ขิง สรรพคุณเสมอกับ ดีปลี (หน้า 99)

ใน สสม (หน้า108)

ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก(เชียงใหม่) ขิงแคลง ขิงแดง(จันทบุรี) สะเอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช

ขิงเป็นพืชล้มลุกมีแง่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว

ลำต้นทที่อยู่เหนือ ต้นงอกจากแง่ง ตั้งตรง ยาวราว 2-3ศอก ใบสีเขียวเรียวแคบ ปลายใบแหลม

ดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลืองและจะบานจากโคนไปหาส่วนปลาย

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สด ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเกี่ยวช่วงอายุ 11-12เดือน

รสและสรรพคุณยาไทย

รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน

วิธีใช้

1. อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากธาตุไม่ปกติเมารถ

เมาเรือ โดยใช้ เหง้าแก่สด ขนาดเท่าหัวแม่มือ(ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

2. อาการไอ มีเสมหะ ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำ และแทรกเกลือ

เล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือ จิบ บ่อยๆ

ขิงแห้ง เป็น ตัวอย่างยา รสเผ็ดร้อน(หน้า147)

รสเผ็ดร้อนหวาน แก้พรรดึก กระจายลม แก้จุกเสียด ขับเหงื่อ แก้ไข้ตรีโทษ

ขิง อยู่ในพิกัด ตรีกฏก คือจำกัดจำนวนตัวยามีรสเผ็ดร้อน ๓3อย่าง(หน้า 157) คือ

1. เหง้าขิงแห้ง(ปิตตะ) 2. เมล็ดพริกไทย(วาตะ) 3. ดอกดีปลี (เสมหะ)

สรรพคุณ แก้วาตะ เสมหะ ปิตตะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และ กองสมุฏฐาน(เป็น ยา ประจำ ฤดูร้อน)

ขิง อยู่ในพิกัด ตรีอากาศผล คือ จำนวนผลแก้อากาศธาตุ 3 อย่าง (หน้า160) คือ

1. เหง้าขิง 2. กระลำพัก 3. อบเชยเทศ

สรรพคุณ แก้อากาศธาตุ 10ประการ แก้ตรีสมุฏฐาน แก้แน่นในอก แก้โลหิตเป็นพิษ

แก้ไข้จับ ขับลม ปลูกไฟธาตุ

ขิง อยู่ในพิกัดจตุทิพย์คันธา คือจำนวนยาที่มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์ 4อย่าง(หน้า 162) คือ

1. รากมะกล่ำเครือ 2. รากชะเอมเทศ 3. ดอกพิกุล 4.เหง้าขิงแคลง

สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะ แก้ลมปั่นป่วน แก้พรรดึก

ขิง อยู่ในพิกัด เบญจกูล คือจำกัดจำนวนตระกูลยา (เครื่องยา) ที่มีรสร้อน 5. อย่าง (หน้า 163.)คือ

1. ดอกดีปลี 2. รากช้าพลู 3. เถาสะค้าน 4. รากเจตมูลเพลิง 5. เหง้าขิงแห้ง

สรรพคุณ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *